| โปฏฐปาทสูตร
ว่าด้วยเรื่องปริพาชกโปฏฐปาทะ [๒๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ประมาณ ๓,๐๐๐ อาศัยอยู่ในมัลลิการาม ซึ่ง (เมื่อแรก) มีศาลาหลังเดียวเรียงรายด้วยต้นมะพลับ อันเป็นสถานที่โต้ลัทธิ ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ... ที.สี. ๙/๔๐๖ - ๔๔๓ (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๗๕ - ๑๙๖)
|
| มหาปทานสูตร
ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุฎี ใกล้ไม้กุ่มน้ำ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งประชุมกันในโรงกลมใกล้ไม้กุ่มน้ำ เกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสว่า ... ที.ม. ๑๐/๑ - ๙๔ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑ - ๕๖)
|
| ลักขณสูตร
ว่าด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ [๑๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ... ที.ปา. ๑๑/๑๙๘ - ๒๔๑ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๙ - ๑๙๘)
|
| ธชัคคสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีฯ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วฯ
[๘๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป...
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗) |