สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2471 นับแบบเก่า นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2472 (ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง) ณ บ้านเฉวง ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือกำเนิดในครอบครัวชาวจีนไหหลำ เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 7 คน ของนายอุ้ยเลี้ยน แซ่โหย่ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี แซ่โหย่ (ยี โชคชัย) ครอบครัวโชคชัยมีอาชีพทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันทายาทสกุลโชคชัยหรือแซ่โหย่เปลี่ยนนามสกุลนั้นเป็น โชคคณาพิทักษ์
อุปสมบท
เกี่ยว โชคชัย สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ก่อนที่จะถึงกำหนดวันเดินทางไปศึกษาต่อยังโรงเรียนในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เด็กชายเกี่ยวเกิดมีอาการป่วยไข้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน บิดามารดาจึงบนบานว่า หากเด็กชายเกี่ยวหายจากป่วยไข้ ก็จะให้บวชเป็นเณร ภายหลังจากบนบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลบ่อผุด โดยมีเจ้าอธิการพัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ความตั้งใจเดิมของสามเณรเกี่ยว คือ การบวชแก้บนสัก 7 วัน แล้วก็จะลาสึกไปรับการศึกษาในฝ่ายโลก แต่เมื่อบวชแล้วได้เปลี่ยนใจ ไม่คิดจะสึกตามที่เคยตั้งใจไว้ โยมบิดามารดาจึงได้พาสามเณรเกี่ยวไปฝากกับพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย
วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
ในเวลาต่อมา หลวงพ่อพริ้งได้นำไปฝากไว้กับอาจารย์เกตุ คณะ 5 ณ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร แต่หลังจากนั้นเป็นเวลาไม่นาน กรุงเทพมหานครต้องประสบภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง กรุงเทพมหานครถูกเครื่องบินทิ้งระเบิด หลวงพ่อพริ้งจึงได้รับตัวพาไปฝากท่านอาจารย์มหากลั่น ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา[12] เมื่อสงครามสงบ หลวงพ่อพริ้งได้พากลับไปที่วัดสระเกศอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเวลานั้น ท่านอาจารย์เกตุ ได้ลาสิกขาบทไปแล้ว หลวงพ่อพริ้งจึงพาฝากไว้กับพระครูปลัดเทียบ (ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นพระธรรมเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ)[12]
ท่านได้ศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และศึกษาปริยัติธรรม สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร ต่อมา เมื่อมีอายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ที่วัดสระเกศ โดยมีพระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ จนถึงปี พ.ศ. 2497 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[16] และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เกี่ยว โชคชัย ฉายา อุปเสโณ (11 มกราคม พ.ศ. 2471 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประธานสมัชชามหาคณิสสร เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม
เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงพระประชวร และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม จึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในต้นปี พ.ศ. 2547[4] ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงมีมติให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวรฯ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ในขณะนั้นทำหน้าที่เป็นประธาน
ลำดับเส้นทางชีวิตกับการวางรากฐานงานพระธรรมทูต ณ ดินแดนนอกอาณาเขตพระพุทธศาสนา
พ.ศ.2489
สอบได้นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ.2497
สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
พ.ศ.2497
ไปร่วมประชุมฉัฏฐสังคีติ ณ ประเทศพม่า
พ.ศ.2498
เป็นกรรมการพิเศษแผนกตรวจสำนวนแปลวินัยปิฎก ฉบับปี 2500 ของคณะสงฆ์
พ.ศ.2499
เป็นอาจารย์สอนบาลี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พ.ศ.2500
ไปร่วมประชุมอรรถกถาสังคยานา ณ ประเทศพม่า เป็นประธานหัวหน้าแผนกคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พ.ศ.2502
เป็นผู้ช่วยอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
เป็นหัวหน้าแผนกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ไปสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศใกล้เคียง ได้แก่ ลาว อินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา เป็นต้น
พ.ศ.2504
เป็นกรรมการหน่วยวิจัย จัดทำนามมานุกรม ของคณะสงฆ์ โดยกรมศาสนา
พ.ศ.2505
เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปดูการศาสนาและเชื่อมศาสนสัมพันธ์ ที่ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และจีนฯลฯ
พ.ศ.2506
เป็นประธานคณะกรรมการต้อนรับสมณทูต จากไต้หวัน
พ.ศ.2507
เป็นเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 9 เป็นหัวหน้าอำนวยการพระธรรมทูตสาย 8
พ.ศ.2508
ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9
เป็นเลขานุการสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาราเถระ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2509
เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสังเกตการณ์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศลาว และเวียดนาม
พ.ศ.2510
เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสังเกตการณ์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศลาว และศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ในความอุปถัมภ์ของ พ.ส.ล.
พ.ศ.2511
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พ.ศ.2512
เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พ.ศ.2513
เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ
เป็นกรรมการยกร่างหลักสูตรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ
พ.ศ.2514
ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ
พ.ศ.2515
เป็นหัวหน้าคณะไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามคำนิมนต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2516
เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
พ.ศ.2524
ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 10
เป็นรองประธานสภาสงฆ์แห่งโลก
พ.ศ.2525
ไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสาธิตอุปสมบทกรรม และอุโบสถกรรม ตามแบบคณะสงฆ์ไทย ที่ประเทศศรีลังกา
พ.ศ.2528
เป็นประธานกรรมาธิการ สังคยานาพระธรรมวินัย ตรวจชำระ พระไตรปิฎก ในมหามงคลสมัยพระชนมพรรษา 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
พ.ศ.2532
ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
เป็นประธานคณะกรรมการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พ.ศ.2534
เป็นประธานคณะกรรมการจัดการชำระและพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535
เป็นประธานกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุ สามเณร (ศ.ต.ภ.)
เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูต
พ.ศ.2535
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พ.ศ.2537
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวออสเตรเลีย ณ ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2539
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ และสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมัน
พ.ศ.2540
ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา มหาเถระสมาคม
เป็นประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
พ.ศ.2541
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พ.ศ.2542
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อเปิดวัดนอร์เวย์ และสังเกตการณ์พระพุทธศาสนา ในภาคพิื้นยุโรป เช่น สวีเดน เยอรมัน เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์
พ.ศ.2543
เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พ.ศ.2545
เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พ.ศ.2547
เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ.2549
ริเริ่มให้จัดตั้งกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
พ.ศ.2550 ริเริ่มให้จัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์พระพุทธศาสนาภายใต้กำกับมหาเถรสมาคม
ริเริ่มให้พระสงฆ์นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ.2551
จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ภายใต้กำกับมหาเถระสมาคม โดยการสนับสนุนของสำนักงานพระพุทะศาสนาแห่งชาต เป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
พ.ศ.2553
ให้กำเนิดพระธรรมทูตอาสา 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
มีพระบัญชาให้อัญเชิญพระคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนา 2,000 ปี จากประเทศนอร์เวย์ ประดิษฐานเป็นการถาวร ณ บรมบรรพต ภูเขาทอง
พ.ศ.2554
จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือวัด และผู้ประสบภัยน้ำท่วมของคณะสงฆ์
พ.ศ.2555
ก่อตั้งรางวัลระดับนานาชาติ "Awakening Leadership Award" และประกาศเกียรติคุณแก่ผู้นำชาวพุทธ กว่า 85 ประเทศทั่วโลก ณ องค์การสหประชาชาติ
อ้างอิงจาก : หนังสือชีวิตและความคิด
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)